วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
  2. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
  3. สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
  4. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
  5. กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
1. สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1.1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
  • สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
  • สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
  • สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
  • สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูในรูปแบบของแสง

2. สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
2.1) คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
2.2) ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
2.3) แอคเซสพอยต์ (Access Point)

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
  2. เครือข่ายเมือง  (Metropolises Area Network :MAN)
  3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
  4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (Network Topology)
  1. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้
  2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
  3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)  เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
  4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน

อุปกรณ์เครือข่าย
  1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
  2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
  3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
  4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
  5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

โปรโตคอล (Protocol)
โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกัน ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่นองค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่า มาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด (Open System International :OSI)

ชนิดของโปรโตคอล
  1. ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
  2. เอฟทีพี (FTP)
  3. เอชทีทีพี (HTTP)
  4. เอสเอ็มทีพี (SMTP)
  5. พีโอพีทรี (POP3)

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ประกอบสำคัญ 4 ส่วนด้วยกัน คือ

1. หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
               หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
  • แป้นพิมพ์ (Keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข เรียกใช้ฟังก์ชั่นของซอร์ฟแวร์และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แป้นพิมพ์พาสเทล
  • เมาส์ (Mouse)  เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนจอภาพได้ ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์จะเป็นรูปลูกศร ซึ่งจะเกิดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมาส์ ไร้ สาย ลาย การ์ตูน
  • ไมโครโฟน (Microphone) รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เขาใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า ที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ microphone computer
  • แสกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพที่ต้องการ ทำสำเนาภาพ จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าและเก็บเป็นไฟล์ภาพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ scanner
  • กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปแบบดิจิตอล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ digital camera

2. หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)

               หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
  • หน่วยความจํา (Memory Unit)
  • รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
  • รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
  • แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง

               คอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และ ตรรกะ (Arithmetic and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
  • หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กันหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
               เป็นที่เก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ไว้ ในคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อข้อมูลที่ช่วยในการจดจำ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

               เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้
2.) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด


  • หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

               เปรียบเสมือนสมุดบันทึกสำหรับเก็บโปรแกรมและข้อมูลไว้ใช้ใน โอกาสต่อไป หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลตามคำสั่งของผู้ใช้ ซึ่งจะมีพื้นที่หรือความจุมากกว่าหน่วยความจำหลัก ลักษณะในการเก็บข้อมูลจะเป็นแบบถาวร คือ ข้อมูลจะไม่สูญหายไปเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น


4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

               หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
  • จอภาพ
  • เครื่องพิมพ์
  • ลําโพง

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์

               คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน คือ
  1. รับข้อมูลและคำสั่ง (Input) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านหน่อยรับข้อมูลต่างๆ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
  2. ประมวลข้อมูล (Process) หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
  3. แสดงข้อมูล (Output) คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

ที่มา : https://sites.google.com/site/intechnology58/t1

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ข้อคำนึงการเขียนบท

https://ookbeeblog.files.wordpress.com/2015/05/

การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท
1.              แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้
2.              การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น
3.              การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความส าคัญของเหตุการณ์หรือเวลา
4.              การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ
5.              ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ

6.              การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มีหลักเกณฑ์ที่ดี

การเขียนบทละคร

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjzs74hvYvUFLO82W81o_gvzIKxbIOGM8zrjtNMcUdQcMWbhGXAWpWoxmTpS3v5E2AIc8NWZG7jtpi597t-qSl28opeTKkTD__ptyJkr8ZihyphenhyphenA92kT3_0yc06BKjY1z3fmxa4wkvhaxgFHo/s640/
  • ฉาก   บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
  • ตัวละคร  บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ
  • การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ   ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
  • บทสนทนา   มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
  • ตอนจบ   ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ
  • การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด


การเขียนนิยาย

http://fc07.deviantart.net/fs71/f/2012/116/0/7/

1. เมื่อเริ่มอยากเขียน = เริ่มวางพล็อต
2. ถ้าไม่วางพล็อตก่อนเขียน จะหลุดออกไป (ลอย) ทะเล เขียนไม่จบสักที
3. เมื่อวางพล็อตนิยาย ก็เปรียบเหมือนอยู่ในเส้นทางสู่ความสำเร็จ พุ่งไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงนั่นเลย! ส่วนเส้นประ ก็อย่างที่เห็นออกทะเล เที่ยวเล่น เขียนไม่จบ
4. เมื่อมีวินัยในการเขียน คุณวางพล็อต = สำเร็จออกมาเป็นเล่มแล้ว
  • 4.1 ข้อยกเว้นอย่างหนึ่งที่คุณไม่ต้องทำตามพล็อต คือคุณมีไอเดียใหม่ที่ดีกว่า และต้องคิดให้จบก่อนค่อยเขียน  ที่สำคัญมากเลยคือ อันที่คิดใหม่ ต้องเชื่อมกับของเก่าได้
 5. ไม่ว่าคุณจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ หมั่นหัดอ่าน หาความรู้อยู่เสมอ ศึกษาวิธีการการเขียนของนักเขียนท่านอื่นๆ ดูวิธีการใช้คำ
 6. ออกไปหาแรงบันดาลใจ อย่าอยู่แต่บนโลกแคบๆ สังคมเดิมๆ อะไรก็เดิมๆ
7. ขอตีเป็น 2 ประเด็น คือ
  • 7.1 เมื่อนิยายผ่าน ได้ดีออกมาเป็นรูปเล่ม อย่าคิดว่าเราแต่งสนุกสุด  ให้เตรียมรับกระแสทางลบไว้บ้าง เราไม่สามารถแต่งนิยายออกมาได้ถูกใจทุกคนในโลกนี้  ใครชมก็เก็บไว้เป็นกำลังใจ  ใครด่าก็ให้เก็บไว้เป็นบทเรียนแล้วก็เอาไปปรับปรุงพัฒนาผลงานตัวเองต่อไป
  •  7.2 นิยายไม่ผ่าน เสียใจที่สุด แต่เมื่อหายเสียใจแล้ว กลับไปที่วิธีที่ 5 และจงอ่านมันเข้าไป ศึกษามันเข้าไป เมื่อคิดว่าตัวเองเริ่มมีวิชากล้าแกร่งแล้ว เริ่มต้นที่วิธีที่ 1 อีกครั้ง

การออกแบบคาเรกเตอร์

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhHTJK1jHuWKm7st5KES9ijpRIaDbA2dByXwh9Uu7FdMvYRZjwzawtukc6bL-0-HjNvUgrY9r4kEn4d3SDkay6rkN5b7DwWCl34-gsDygfSHiHHETISGf8xh8jhOF1SIz4PHx8hRdLgmmQ/s1600/

ตัวละคร สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภทเหมือนกับงานละครทั่วไป คือ มีตัวเอก ตัวรอง และตัวร้ายประเภทของตัวละครนิทานส่วนใหญ่นั้นผู้สร้างตัวละครได้สร้างตัวละครเป็น คน และสัตว์
ขั้นตอนในการสร้างลักษณะของตัวละคร ( Character ) การออกแบบตัวละครมีดังต่อไปนี้
       ·       ขั้นที่ 1 : การวางโครงเรื่อง ( Story )
การออกแบบคาแร็คเตอร์ โดยการวิเคราะห์คาแร็คเตอร์จาก บท หรือจาก Concept ขึ้นโครงรูปด้วยการวาดลายเส้นแบบ ฟรีแฮนด์ โดยการหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการคิดออกแบบตัวละครเพื่อให้ตัวละครมีความสมบูรณ์มากที่สุด ใส่ท่าทางให้กับตัวละคร หลังจากนั้นคือการพัฒนาจากตัวการ์ตูนที่อยู่ในหน้ากระดาษให้อยู่ในคอมพิวเตอร์ด้วยการดราฟลายเส้นที่สำคัญต้องคำนึงว่าตัวละครที่ทำขึ้นมันสูญเสียเอกลักษณ์และเสน่ห์จากต้นเค้าเดิมหรือไม่หรือจากแหล่งที่มาหรือไม่
       ·       ขั้นที่ 2 : สคริปต์ ( Script ) 
เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่หน้า ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกบทบาทต่างๆและท่าทางการเคลื่อนไหว ให้กับตัวละคร ให้มีชีวิตเหมือนจริง มีการเคลื่อนไหวได้จริงถูกต้องตามธรรมชาติของคน สัตว์ สิ่งของ ต่างๆ โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบได้แก่ ขนาด ( Size ) รูปทรง ( Shape ) และสัดส่วน ( Proportion )
       ·       ขั้นที่ 3 : บอร์ดภาพนิ่ง

เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆสีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆ ของตัวละครบอกถึงสถานที่ และมุมมองของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมด จะเรียงต่อเนื่องเป็นเหตุผลเดียวกัน เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน การเขียนสตรี่บอร์ด คือการเขียนตัวหนังสือให้ออกมาเป็นภาพบนแผ่นกระดาษ เพื่อให้รู้ว่าตัวการ์ตูนอยู่ในฉากไหน กำลังจะเดินจากไหนไปไหน และจะหยุดคุยกับใคร ว่าอะไร ภาพบนสตอรี่บอร์ดจะเป็นเป็นภาพที่แทนลักษณะตามมุมกล้อง นอกจากความสวยงามแปลกตาของตัวละครแล้ว การเคลื่อนไหวก็เป็นจุดสำคัญอย่างมากที่จะดึงดูดความสนใจของผู้เล่นหรือผู้ชมได้ดี

การออกแบบตัวละคร

https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/736x/ea/59/47/

1. หลักการออกแบบตัวละคร
หมายถึง การออกแบบตัวละครให้เหมาะกับผู้ชมและแนวของเรื่องโดยอาศัยเรื่องสี รูปร่าง ฯ โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานเช่น เพศ อายุ สีผม สีตา จุดเด่น เช่น สวมแว่นตลอดเวลา บุคลิกภูมิหลัง พลังพิเศษ ความชอบ ความเกลียด ทั้งนี้ควรออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ง่าย เช่น สีผิวที่ต่างกัน ทรงผมที่ต่างกัน ความสูงที่ต่างกันเป็นต้น

2. ตัวละครหลัก
  • Hero หรือพระเอก หรือพระเอก จะมีเป้าหมายในชีวิตว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ
  • Mentor อาจารย์หรือผู้แนะนำ จะฉลาดรอบรู้ ใจดี มีเมตตา อาจะเป็นคนหรือเป็นกระจกวิเศษ เป็นต้น
  • Herald เพื่อนพระเอก หรือ ผู้บอกข่าวสาร เป็นที่ปรึกษา คอยช่วยเหลือให้ผ่านจากเรื่องหนึ่งไปเรื่องหนึ่ง
  • Threshold quardian มีบุคลิกหยิ่งๆ ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด เช่นคนตีเหล็กทำอาวุธ มังกร มีหน้าที่หลักๆ คือคอยพิสูจน์ฝีมือและความตั้งใจจริงของพระเอก เป็นต้น
  • Shape shifter มีบุคลลิกไม่ค่อยจริงใจ เป็นนกสองหัวเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ คอยสร้างความสับสนให้เนื้อเรื่อง หรือตัวอิฉจา เป็นต้น
  • Trickster ตัวตลก หรือตัวป่วน ที่จะช่วยสร้างสีสันให้เนื้อเรื่อง มีได้ทั้งฝั่ง Hero และ Shadow
  • Shadow ผู้ร้าย จอมมาร มีหน้าที่หลักคือคอยขัดขวาง พระเอก เป็นต้น

3. ออกแบบเพื่อการเคลื่อนไหว
ในขั้นตอนนี้เรียกว่าการจัดทำ Character sheet ต้องออกแบบด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ด้าน 3/4 เพื่อแสดงการเคลื่อนไหว

4. Emotion  อารมณ์ของตัวละคร
สามารถแสดงหลายเช่น ดวงตา ปาก หรืออื่น ทั้งนี้ การออกแบบให้ตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ได้จึงถือเป็นส่วนที่สำคัญของการ์ตูน