องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ประกอบสำคัญ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1. หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input
Unit)
หน่วยรับข้อมูลเข้า
เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล
หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล
หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป
ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
- แป้นพิมพ์ (Keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดแป้นพิมพ์
ซึ่งมีลักษณะแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข
เรียกใช้ฟังก์ชั่นของซอร์ฟแวร์และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
- เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนจอภาพได้
ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์จะเป็นรูปลูกศร ซึ่งจะเกิดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์
- ไมโครโฟน (Microphone) รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ
จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เขาใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้า
ที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้
- แสกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ
สัญลักษณ์ หรือภาพที่ต้องการ ทำสำเนาภาพ
จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าและเก็บเป็นไฟล์ภาพ
- กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปแบบดิจิตอล
2. หน่วยประมวลผล (Central
Process Unit)




หน่วยประมวลผลกลาง
เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล
หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ
ดังต่อไปนี้
- หน่วยความจํา (Memory Unit)
- รีจิสเตอร์ (Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
- รอม (Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ เอาไว้
- แรม (Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์
เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และ ตรรกะ (Arithmetic and Login Unit:
ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ
คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
- หน่วยควบคุม (Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กันหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นที่เก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ไว้ ในคอมพิวเตอร์ รวมถึงสื่อข้อมูลที่ช่วยในการจดจำ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล
หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.)
หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร
หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว
โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว
แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้
2.)
หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง
มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล
หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด
- หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage)

4. หน่วยแสดงผล (Output
Unit)

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
- จอภาพ
- เครื่องพิมพ์
- ลําโพง
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน คือ
- รับข้อมูลและคำสั่ง (Input) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านหน่อยรับข้อมูลต่างๆ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
- ประมวลข้อมูล (Process) หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
- แสดงข้อมูล (Output) คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น